วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3นครพนม-คำม่วน

              สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ ๓ (นครพนม - คำม่วน)วันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๐๐ น.ณ มณฑลพิธี บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

              สะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่3 (นครพนม-คำม่วน) (อังกฤษ: 3rd Thai-Lao Friendship Bridge) เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย (นครพนม) กับประเทศลาว (คำม่วน) พื้นที่ฝั่งไทย ที่บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ฝั่งลาวอยู่ที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ควบคุมการก่อสร้างโดยสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวง และบริษัทอิตาเลียนไทย จำกัดเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทย รัฐบาลลาวและรัฐบาลเวียดนาม ทั้งสิ้น 1,723 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน สะพานจะแล้วเสร็จในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จก่อนกำหนดถึง 3 เดือน เมื่อสะพานแล้วเสร็จจะเป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งด้านการค้า และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และภาคใต้ของประเทศจีน


พิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จทรงเป็นประธานพิธีเปิดสะพานอย่างเป็นทางการร่วมกับประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ 11 เดือน 11 ปีค.ศ. 2011 (11-11-11) เวลา 11.11น.พิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 อย่างเป็นทางการที่จังหวัดนครพนม
จังหวัดนครพนม
                 นครพนม   ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย   มีประวัติสืบทอดยาวนานมาหลายร้อยปี เดิมเคยเป็นมหานครของ   อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ที่รุ่งเรืองในอดีต  ประมาณราวต้นพุทธศตวรรษที่   12   เป็นอาณาจักรอิสระไม่ขึ้นกับใครประมาณพุทธศตวรรษที่  16   อาณาจักร ศรีโคตรบูรณ์ได้เสื่อมอำนาจลงตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของอาณาจักรขอมต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่  18  ชื่อของ   ศรีโคตรบูรณ์”   เป็นเมืองในอาณาจักรล้านช้าง   มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง  โดยพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง   ทรงสร้างเมืองที่ปากห้วยหินบูรณ์   ( ปากห้วยบรรจบลำน้ำโขงฝั่งซ้ายตรงข้ามอำเภอท่าอุเทน เหนือเมืองนครพนม  )  ให้ชื่อเมืองใหม่นี้ว่า                ศรีโคตรบูรณ์”    สืบราชสมบัติมาได้หลายองค์  ต่อมาย้ายเมืองมาตั้งที่ป่าไม้รวกห้วยศรีมัง  ริมแม่น้ำโขงฝั่งซ้าย (คือเมืองเก่าใต้เมืองท่าแขกในปัจจุบัน) ถึงปี  พ.ศ. 2297  มีพระนครานุรักษ์ครองเมืองศรีโคตรบูรณ์มีความเห็นว่าเมืองมิได้ตั้งอยู่ที่ปากห้วยแล้ว   จึงได้เปลี่ยนนามเมืองใหม่ว่า    เมืองมรุกขนคร”   เพราะถือว่าสร้างขึ้นในดงไม้รวก  นามเมืองศรีโคตรบูรณ์จึงเปลี่ยนไปตั้งแต่ครั้งนั้น  ปี พ .ศ. 2330 ย้ายเมืองมาตั้งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ปากห้วยบังฮวก   บรรจบกับแม่น้ำโขง(ปัจจุบันอยู่ระหว่างบ้านดอนนางหงส์ท่า  ตำบลดอนนางหงส์  อำเภอธาตุพนม   เลยลงไปถึงบ้านธาตุน้อยศรีบุญเรือง   ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม )    เมืองมรุกขนคร   เมื่อได้ย้ายมาตั้งที่      ปากห้วยบังฮวกโดยประมาณ  20  ปี น้ำได้กัดเซาะตลิ่งพังลงมามาก     จึงได้ย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์ (ห่างจากตัวเมืองนครพนมไปทางทิศใต้ 4  กิโลเมตร)  ตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า นครบุรีราชธานีปี  พ.ศ. 2337 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเมือง  เสียใหม่ว่า   เมืองนครพนม”    ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร  การที่พระราชทานนามว่า เมืองนครพนมสันนิษฐานได้ว่า อาจจะเนื่องด้วยเดิมเมืองนี้เป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงให้ใช้คำว่า  นคร”   หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า  นคร”  นี้ อาจรักษาชื่อเมืองเดิมคือเมืองนครบุรีราชธานีไว้ ส่วนคำว่า  พนม”  อาจจะเนื่องด้วยจังหวัดนี้มีองค์พระธาตุพนมประดิษฐานอยู่  หรืออาจจะเนื่องจาก เดิมมีอาณาเขตไกลไปถึงดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง คือบริเวณเมืองท่าแขก ซึ่งมีภูเขาสลับซับซ้อนมากมายไปจนถึงดินแดนของประเทศเวียดนาม จึงใช้คำว่า พนมเพราะแปลว่า ภูเขา

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
          พระธาตุพนม  ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารในเขตอำเภอธาตุพนม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ  50  กิโลเมตร ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีลงความเห็นว่าเป็นสมัยเดียวกันกับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมา  โดยในปี พ.ศ .2458 วัดพระธาตุพนมได้รับการยกฐานะเป็นอารามหลวงชั้นเอก   ขึ้นเป็น วรมหาวิหาร ”  ต่อมาในวันที่  11 สิงหาคม  2518 พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนม รัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522  และได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ตลอดจนของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้นภายในองค์พระธาตุ  บนยอดองค์  พระธาตุมีฉัตรทองคำ น้ำหนักถึง 110  กิโลกรัม   ปัจจุบันองค์พระธาตุพนมมีฐานกว้างด้านละ  12.33  เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างามยิ่งนัก พระธาตุท่าอุเทน   ประดิษฐานอยู่บ้านท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน รูปทรงคล้ายพระธาตุพนม มีความสูงจากพื้นดินถึงยอด  33  วา   ฐานกว้างด้านละ  6  วา   3  ศอก   พระอาจารย์ศรีทัตถ์ เป็นผู้สร้าง เมื่อ ปี พ .ศ.2455 พระธาตุท่าอุเทนนี้เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง   ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์  ซึ่งพระอาจารย์ศรีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้งประเทศพม่า การเดินทางไปนมัสการพระธาตุท่าอุเทนจากตัวเมืองนครพนมใช้เส้นทางหมายเลข 212  ไปยังอำเภอท่าอุเทน ระยะทางประมาณ  26  กิโลเมตรพระธาตุเรณูนคร  ประดิษฐานอยู่ ที่วัดพระธาตุเรณูนคร ตำบลเรณูนคร อำเภอเรณูนคร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2461   โดยอาจารย์เม้า วงษา และ อุปปัชฌาอินทร์ โดยจำลองมาจากองค์พระธาตุพนม มีความสูง   35  เมตร  กว้าง 8.37 เมตร มีซุ้มประตู  4 ด้าน ภายในเป็นโพรงบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำภายในวัดพระธาตุเรณูนคร นอกจากมีองค์พระธาตุเรณูนครแล้วยังมีพระรูปพระองค์แสน  (น้ำหนัก 1,200 กิโลกรัม หน้าตักกว้าง50 เซนติเมตร สูง  50 เซนติเมตร) มีพระพุทธลักษณะสวยงาม การเดินทางไปนมัสการพระธาตุเรณูนคร จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข  212  ถึงกิโลเมตร ที่  44  มีทางแยกไปยังอำเภอเรณูนคร  7 กิโลเมตร   สภาพถนนลาดยางใช้ได้ทุกฤดูกาล รวมระยะทางทั้งสิ้น 51 กิโลเมตรพระธาตุประสิทธิ์  ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า ห่างจาก  ตัวอำเภอเมือง  ประมาณ   98  กิโลเมตร ป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ประชาชนในท้องถิ่นใกล้เคียงเคารพนับถือมาก  การเดินทางจากตัวเมืองนครพนม ไปตามทางหลวงหมายเลข  212   ผ่านอำเภอท่าอุเทน ถึงบ้านท่าดอกแก้วจะมีทางหลวง หมายเลข   2032 แยกซ้ายมือเข้าตัวอำเภอศรีสงคราม จากอำเภอศรีสงคราม ไปอำเภอนาหว้า ระยะทาง 26  กิโลเมตร  ถนนลาดยางตามทางหลวงหมายเลข  2132  ถึงบริเวณวัดพระธาตุมหาชัย   ประดิษฐาน  ณ  วัดโฆษิตดาราม  ตำบลมหาชัย  อำเภอปลาปาก  ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ  40  กิโลเมตร  ไปตามเส้นทางนครพนม - สกลนคร  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข   22  พระธาตุมหาชัย เป็น ปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระธาตุมหาชัย เมื่อวันที่  25 พฤษภาคม 2518  ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา  และที่วัดโฆษิตดาราม นี้   ยังเป็นที่จำพรรษาของท่านพระครูสุนทรธรรมโฆษิต  (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ )  พระเกจิอาจารย์สายวิปัสสนา  ที่สำคัญองค์หนึ่ง และเป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดนครพนม   และชาวอีสานทั่วไปด้วยพระธาตุศรีคูณ  เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอนาแก ห่างจากอำเภอธาตุพนม ตามทางหลวงหมายเลข  212 ประมาณ 27 กิโลเมตร พระธาตุศรีคูณมีลักษณะส่วนบนคล้ายพระธาตุพนม  ต่างกันตรงที่  ชั้นที่1  มีสองตอน เป็นรูป 4 เหลี่ยม  ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ 2   สั้นกว่าพระธาตุพนมวัดโอกาสศรีบัวบาน  เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ มีศาลเจ้าหมื่น รวมทั้งพระติ้ว พระเทียม ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเมืองนครพนม   เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง     ติดกับด่านศุลกากรนครพนม ในเขตเทศบาลเมืองนครพนมรอยพระบาทบ้านเวินพระบาท  ตั้งอยู่ในลำน้ำโขง ณ บ้านเวินพระบาท ตำบลเวินพระบาท อำเภอท่าอุเทน โดยมีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดพระบาทเวินปลาห่างจากฝั่งออกไป   150  เมตร    สถานที่แห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่า วังน้ำาวน หรือเวินลักษณะเป็นรอยฝ่าพระบาทเบื้องซ้าย กว้าง 70  เซนติเมตร  ยาว  1.80  เมตร ตรงกลางมีรูปกงจักร เส้นผ่าศูนย์กลางของรูปประมาณ  10  เซนติเมตร ในฤดูฝนน้ำจะท่วมคือตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ไปจนกว่าน้ำจะลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ จึงไปนมัสการได้ งานเทศกาลนมัสการ จะตรงกับวันสงกรานต์ของทุกปี การเดินทางจากนครพนม  ไปตามถนนสายนครพนม -บ้านแพง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ10  กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้าน อีก 500  เมตรพระบางวัดไตรภูมิ  ประดิษฐานอยู่ ณ วัดไตรภูมิ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร มีขนาดสูง  80  นิ้ว  แท่นสูง  2.5 นิ้ว   ฐานเป็นรูป  8 เหลี่ยม  สูง  15 นิ้ว  ห่างจากจังหวัดนครพนม  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น