วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วัดพระธาตุมหาชัย นครพนม (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ)



วัดพระธาตุมหาชัย นครพนม
         วัดพระธาตุมหาชัย ประดิษฐานอยู่บ้านมหาชัย ตำบลมหาชัย ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 39 กิโลเมตร ตามเส้นทางนครพนม-สกลนคร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2276 เข้าวัดอีก 1.8 กิโลเมตร ทางเข้าวัดเป็นถนนคอนกรีต องค์พระธาตุสูง 37 เมตร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์สารีริกธาตุ ภายในพระอุโบสถนอกจากพระประธานคือ พระพุทธไชยสิทธิ์แล้วยังมีพระพุทธรูปปางห้ามญาติสลักจากไม้ต้นสะเดาหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภาพเขียนบนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ มีลวดลายศิลปกรรมที่งดงามมากในภาคอีสาน
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระธาตุมหาชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา และที่วัดนี้ยังเป็นที่จำพรรษาของพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) พระเกจิอาจารย์สายวิปัสนาที่สำคัญองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครพนมและชาวอีสานทั่วไป
หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ (พระสุนทรธรรมากร )

             พระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นพระมหาเถระ ที่มีอัธยาศัยใจคอกว้างขวาง เยือกเย็น มีความเมตตา กรุณาต่อศิษย์ ตลอดถึงญาติโยมทุกคนที่เข้าหาท่าน ใครก็ตามที่มีปัญหา หรือมีความทุกข์เข้าหาท่าน จะได้รับการต้อนรับจากท่านอย่างดียิ่ง เสมอกันหมด ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม ต่อครูบาอาจารย์ และพระเถระที่อาวุโสกว่า หลวงปู่จะแสดงอาการอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอ โดยไม่เคยจะแสดงอาการ แข็งกระด้างใดๆเลย ด้วยเหตุนี้หลวงปู่จึงเป็นที่เคารพนับถือของ ศิษยานุศิษย์และญาติโยมโดย ทั่วไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้ว หลวงปู่ก็ยังเป็นพระเถระที่มีความตั้งใจมั่นคง หนักแน่นอีกด้วย
           จะเห็นได้จากการที่ท่านตั้งใจจะทำสิ่งใดแล้ว จะต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จให้จงได้ คงเป็นเพราะ ความตั้งใจจริงและความตั้งใจมั่นคงนี้เอง ที่ทำให้หลวงปู่ทำสิ่งใดก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี และรวดเร็ว เกิน ความคาดหมายทุกประการ ตัวอย่างเช่น พระธาตุมหาชัย, อุโบสถวัดธาตุมหาชัย, กำแพง ล้อมรอบวัดธาตุมหาชัย และกุฏิสงฆ์หลังใหม่ ๒ หลัง ซึ่งสิ่งก่อสร้างแต่ละอย่างล้วน แต่ใช้ค่าก่อ สร้างจำนวนมากทั้งสิ้น เมื่อญาติโยมที่มีความเคารพนับถือในตัวหลวงปู่ทราบ ต่างก็มีจิตศรัทธา ช่วย กันสละกำลังทรัพย์มาช่วยในรูปของกฐินบ้าง ผ้าป่าบ้าง จนงานก่อสร้างดัง กล่าวสำเร็จรวดเร็วเกินคาด อีกประการหนึ่ง โดยอุปนิสัยแล้ว หลวงปู่ท่านถือการ ปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นประจำนับตั้ง แต่อุปสมบทพรรษาแรก จนกระทั่งมรณภาพ
ประวัติหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
             พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) อายุ ๘๙ พรรษา ๕๙ (พ.ศ.๒๕๔๖) เจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย บ้านมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม
สถานะเดิม
ชื่อ คำพันธ์ ศรีสุวงค์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๕๘ โยมบิดาชื่อ นายเคน ศรีสุวงค์ โยมมารดาชื่อ นางล้อม ศรีสุวงค์ เป็นบุตรคนโต มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน ๒ คน คือ
๑. พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมากร (คำพันธ์ ศรีสุวงค์)
๒. นายพวง ศรีสุวงค์ (ถึงแก่กรรม)
และมีน้องร่วมมารดา แต่ต่างบิดากันอีก ๔ คน คือ
๑. นางสด วงษ์ผาบุตร (ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗)
๒. ด.ช.บด แสนสุภา (ถึงแก่กรรม)
๓. ด.ญ.สวย แสนสุภา (ถึงแก่กรรม)
๔. นางกดชา เสนาช่วย (ถึงแก่กรรม)
การบรรพชา-อุปสมบท
            วันที่ ๗ กันยายน ๒๔๗๕ (อายุ ๑๗ปี) ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดศรีบุญเรือง บ้านหนองหอย ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม โดยมีพระอาจารย์เชื่อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากได้บรรพชาแล้วก็ได้ศึกษาอักษรธรรม และหนังสือสูตรคาม แบบโบราณ ในขณะเดียวกันก็ได้ฝึกปฏิบัติกัมมัฎฐานควบคู่ไปด้วย หลังจากบรรพชาได้ ๓ พรรษา ได้ออกเดินธุดงค์ทรงกรดไปที่จังหวัดเลย พร้อมกับพระภิกษุ ๒ รูป คือ พระภิกษุบุญ และพระภิกษุวัน ได้พบกับชีปะขาวคนหนึ่งชื่อว่าครุฑ ได้ศึกษาแนวทางการปฎิบัติจากชีปะขาวอยู่ประมาณ 3-4 เดือน ก่อนหน้าที่จะได้ฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานนั้น เคยได้รับความรู้เรื่องกัมมัฏฐานมาจาก พระอาจารย์เสาร์ ซึ่งท่านไปอบรมประชาชนที่วัดโพนเมือง ท่านอาจารย์เสาร์ให้แนวทางในการ ปฏิบัติกรรมฐานไว้ว่า ให้กำหนดลมหายใจออก ท่านอาจารย์เสาร์ได้ให้ข้อคิดต่อ ไปอีกว่า ร่างกายของคนเรานั้น เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มันทำงานอยู่ตลอดเวลา ลมหายใจเข้า-ออกนั้น มีความสำคัญมาก ถ้าลมไม่ทำงานคนเราจะตายทันที ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจนอกจากนั้นท่านอาจารย์เสาร์ยังได้ย้ำอีกว่า ให้คนเราตีกลองคือขันธ์ ๕ ให้แตกซึ่งก็หมาย ความว่า ท่านให้ทำความเข้าใจขันธ์ ๕ ให้จงดีให้เข้าใจตามสภาพที่เป็นจริง........
       หลวงปู่ได้ศึกษาภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติกับหลวงปู่เสาร์ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นหลวงปู่คำพันธ์ ก็ได้นำเอาแนวทางการปฎิบัติของอาจารย์ทั้ง 2 มาเป็นแนวทางปฎิบัติกัมมัฎฐานหลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดเลยเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นได้เดินธุดงค์ไปยังจังหวัดเชียงรายประมาณ 3-4 เดือน โยมบิดาได้เสียชีวิตลง หลวงปู่จึงได้เดินทางกลับมาทำบุญงานศพบิดา และได้เดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆในเขตจังหวัดนครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองคายและข้ามไปฝั่งลาวประมาณ 3-4 เดือน แต่ไม่ได้จำพรรษา แต่กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านเดิมอยู่ประมาณ 3 ปี และญาติโยมชาวบ้านก็นิมนต์ท่านให้เข้ามาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านเพื่อโปรดญาติโยมชาวบ้านบ้าง หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์ต่อ จนอายุถึง 40 ปี จึงหยุดเดินธุดงค์ แต่ก็พยายามศึกษาปฎิบัติธรรมกัมมัฎฐานมาโดยตลอด

              พ.ศ. ๒๔๗๘ อายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และเริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๔๘๒ อายุ ๒๔ ปี มารดาก็ถึงแก่กรรม เวลานั้นเหลือน้องผู้หญิง ๒ คน ซึ่งยังเล็กมาก จึงได้ลาสิกขาบทออกไปเลี้ยงดูน้อง พ.ศ. ๒๔๘๘ อายุ ๓๐ ปี ได้กลับเข้าอุปสมบทอีกครั้ง และได้ออกไปจำพรรษาที่วัดป่า เป็นเวลา ๓ พรรษา ต่อมาก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานพร้อมเป็นครูสอน พระปริยัติธรรมด้วยที่วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้นำญาติโยมประมาณ ๕ ครอบครัว จากบ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก มาสร้างบ้านและวัดใหม่ ที่โนนมหาชัย และให้ชื่อบ้านว่า บ้านมหาชัยในปัจจุบันนี้ ได้สร้างวัดธาตุมหาชัย (เดิมชื่อวัดโฆษการาม) จนเจริญรุ่งเรืองตราบถึงปัจจุบัน
การศึกษา

พ.ศ. ๒๔๗๙ อายุ ๒๒ ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนคณะจังหวัดนครพนม วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก จ.นครพนม

พ.ศ. ๒๔๘๘ อายุ ๓๐ ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนคณะจังหวัดนครพนม วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก จ.นครพนม
พ.ศ. ๒๔๘๙ อายุ ๓๑ ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนคณะจังหวัดนครพนม วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก จ.นครพนม
เมื่อหลวงปู่สอบได้นักธรรมเอกได้แล้ว หลวงปู่ก็ได้พยายามศึกษาพิเศษ เช่น เรียนหนังสืออักษรธรรม อักษรขอมได้เป้นอย่างดี และยังทรงพระปาฎิโมกข์ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย
งานการศึกษาพระปริยัติธรรม
พ.ศ. ๒๕๓๒ หลวงปู่ได้ตั้งสำนักเรียนวัดพระธาตุมหาชัย ทั้งแผนกธรรม-บาลีขึ้นจนสามารถมีลูกศิษย์สอบนักธรรม ได้เป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี และมีลูกศิษย์สามารถสอบเปรียญธรรมได้ทุกปี ปีละหลายๆ รูป ทำให้การศึกษาแผนกธรรมบาลีอำเภอปลาปากดีขึ้นตามลำดับ
พ.ศ. ๒๕๓๔ หลวงปู่ได้จัดตั้งทุนมูลนิธิการศึกษาพระปริยัตธรรม แผนกธรรม-บาลีขึ้นที่วัดธาตุมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เพื่อส่งเสริมและมอบทุนการศึกษาให้แก่พระภิกษุ สามเณร ที่มีความรู้ความสามารถสอบนักธรรมชั้นตรี โท เอก ได้ และสามารถสอบเปรียญธรรมได้
หลวงปู่ยังให้ทุนการศึกษาแก่ลูกศิษย์ที่ไปเรียนต่ออีกด้วย งานการศึกษาสงเคราะห์
พ.ศ. ๒๕๓๕ หลวงปู่ได้จัดตั้งกองทุนมูลนิธิการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ยากจน ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ในเขตอำเภอปลาปาก และทุกอำเภอในเขต จังหวัดนครพนม  เมื่อวันที่ 10 เดือนมกราคมของทุกๆ ปี หลวงปู่คำพันธ์จะมอบทุนการศึกษา  ให้แก่นักเรียนทุกอำเภอๆ ละ 9 ทุน และมอบทุนให้เป็นค่าอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียนต่างๆ ด้วย
พ.ศ. ๒๕๓๕ หลวงปู่คำพันธ์ได้สร้างโรงเรียนมัธยมขึ้นที่บ้านนกเหาะ ตำบลโคกสูง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนมตั้งชื่อโรงเรียนมัธยมแห่งนี้ว่า ธรรมโฆษิตวิทยา มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี และหลวงปู่คำพันธ์ยังได้เป็นผู้ อุปถัมภ์โรงเรียนแห่งนี้มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๓๘ หลวงปู่คำพันธ์ได้ขออนุญาตสร้างโรงเรียนสุนทรธรรมากรและในปัจจุบันนี้ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ชื่อว่า โรงเรียนมัธยมมหาชัยธรรมากร เพราะตั้งอยู่ ที่บ้านโนนศรีชมภูทางแยกเข้ามาบ้านมหาชัยหลวงปู่ก็ให้การอุปถัมภ์ในทุกวันนี้และได้จัดบรรพชา สาเณรภาคฤดูร้อนเป็นประจำ
งานการเผยแพร่
พ.ศ. ๒๕๓๒ หลวงปู่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยพระธรรมฑูตฝ่ายกำกับการพระธรรมฑูตอำเภอปลาปาก
พ.ศ. ๒๕๓๓ หลวงปู่ได้ร่วมมือกับคณะสงฆ์และทางราชการออกไปอบรมประชาชนตามหมู่บ้านต่างๆ ในเขตการปกครอง และร่วมกับหน่วยงานของราชการทุกหน่วยงานออกไปอบรมตาม โครงการหมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองของอำเภอปลาปากและยังได้ติดตาม พระธรรมฑูตจากส่วนกลางออกเยี่ยมเยียนประชาชนในเขต อำเภอปลาปากโดยสม่ำเสมอมาตลอดทุกปี
ตำแหน่งงานปกครอง
พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นเจ้าอาวาสวัดโฆษการาม (วัดธาตุมหาชัย ในปัจจุบัน)
พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นเจ้าคณะตำบลมหาชัย
พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอปลาปาก
พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษา ธรรม-บาลี
พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นเจ้าคณะอำเภอปลาปาก
พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอปลาปาก
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๑๘ พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ พระครูสุนทรธรรมโฆษิต
พ.ศ. ๒๕๒๐ พระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่ พระครูสุนทรธรรมโฆษิต
พ.ศ. ๒๕๒๘ พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ที่ พระครูสุนทรธรรมโฆษิต
พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชาคณะ ชั้นสามัญ ราชทินนาม พระสุนทรธรรมากร
งานสาธารณูปการ
พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นประธานสร้างอุโบสถ วัดพระพุทธบาทจอมทอง
พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นประธานสร้างหอระฆัง วัดพระพุทธบาทจอมทอง
พ.ศ. ๒๔๙๕ หลวงปู่ได้นำญาติโยมชาวบ้านหนองหอยที่พากันติดตามหลวงปู่มาได้สร้างวัดขึ้นที่หมู่บ้านมหาชัย ใช้ชื่อวัดว่า วัดโฆษการาม บ้านมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก
พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นประธานนำชาวบ้านมหาชัยสร้างวัดธาตุมหาชัย
พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นประธานสร้างพระคู่บ้านมหาชัย พระพุทธศักดิ์สิทธิ์
พ.ศ. ๒๕๑๔ หลวงปู่ได้เป็นประธานนำญาติโยมชาวบ้านมหาชัยสร้างธาตุขึ้นภายในวัดซึ่งมีลักษณะ ทรงแปดเหลี่ยม สูง 15 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จมาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุด้วยพระองค์เอง
พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นประธานสร้างอุโบสถ วัดธาตุมหาชัย
พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นประธานสร้างกำแพงล้อมรอบวัดธาตุมหาชัย
พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นประธานสร้างกุฏิสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นประธานสร้างวัดป่ามหาชัย (อรัญญคาม) และในปีเดียวกันนั้นเองหลวงปู่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ประดิษฐานไว้ที่หน้าพระอุโบสถวัดโฆษการาม
พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นประธานสร้างกุฏิสงฆ์หลังใหม่อีกหลังหนึ่ง และหลวงปู่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อวัดโฆษการามเป็นวัดธาตุมหาชัย จนถึงปัจจุบัน และในปีเดียวกันนั้นหลวงปู่ได้เป็นประธานสร้างศาลาการเปรียญ-หอสมุดภายในวัด
พ.ศ. ๒๕๒๙ หลวงปู่ได้สร้างหอพระไตรปิฎก หอระฆัง
พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นประธานสร้างโรงเรียนมัธยม โรงเรียนธรรมโฆษิตวิทยา
พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นประธานสร้างโรงเรียนมัธยม โรงเรียนธรรมากรวิทยา
พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นประธานสร้างพระธาตุมหาชัยครอบองค์เดิม
พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นประธานสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ณ วัดส้างพระอินทร์ พระพุทธการุณ
พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นประธานสร้างโรงเรียนมัธยม โรงเรียนมหาชัยวิทยาคม
พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นประธานสร้างตึกผู้ป่วย โรงพยาบาลปลาปาก

พระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพัน โฆษปัญโญ) ได้มรณภาพลงดัวยอาการอันสงบ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน 2546 เวลาประมาณ 02.00 น. ที่วัดธาตุมหาชัย สิริรวมอายุ 88 ปี 71 พรรษา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3นครพนม-คำม่วน

              สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ ๓ (นครพนม - คำม่วน)วันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๐๐ น.ณ มณฑลพิธี บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

              สะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่3 (นครพนม-คำม่วน) (อังกฤษ: 3rd Thai-Lao Friendship Bridge) เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย (นครพนม) กับประเทศลาว (คำม่วน) พื้นที่ฝั่งไทย ที่บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ฝั่งลาวอยู่ที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ควบคุมการก่อสร้างโดยสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวง และบริษัทอิตาเลียนไทย จำกัดเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทย รัฐบาลลาวและรัฐบาลเวียดนาม ทั้งสิ้น 1,723 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน สะพานจะแล้วเสร็จในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จก่อนกำหนดถึง 3 เดือน เมื่อสะพานแล้วเสร็จจะเป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งด้านการค้า และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และภาคใต้ของประเทศจีน


พิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จทรงเป็นประธานพิธีเปิดสะพานอย่างเป็นทางการร่วมกับประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ 11 เดือน 11 ปีค.ศ. 2011 (11-11-11) เวลา 11.11น.พิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 อย่างเป็นทางการที่จังหวัดนครพนม
จังหวัดนครพนม
                 นครพนม   ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย   มีประวัติสืบทอดยาวนานมาหลายร้อยปี เดิมเคยเป็นมหานครของ   อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ที่รุ่งเรืองในอดีต  ประมาณราวต้นพุทธศตวรรษที่   12   เป็นอาณาจักรอิสระไม่ขึ้นกับใครประมาณพุทธศตวรรษที่  16   อาณาจักร ศรีโคตรบูรณ์ได้เสื่อมอำนาจลงตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของอาณาจักรขอมต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่  18  ชื่อของ   ศรีโคตรบูรณ์”   เป็นเมืองในอาณาจักรล้านช้าง   มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง  โดยพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง   ทรงสร้างเมืองที่ปากห้วยหินบูรณ์   ( ปากห้วยบรรจบลำน้ำโขงฝั่งซ้ายตรงข้ามอำเภอท่าอุเทน เหนือเมืองนครพนม  )  ให้ชื่อเมืองใหม่นี้ว่า                ศรีโคตรบูรณ์”    สืบราชสมบัติมาได้หลายองค์  ต่อมาย้ายเมืองมาตั้งที่ป่าไม้รวกห้วยศรีมัง  ริมแม่น้ำโขงฝั่งซ้าย (คือเมืองเก่าใต้เมืองท่าแขกในปัจจุบัน) ถึงปี  พ.ศ. 2297  มีพระนครานุรักษ์ครองเมืองศรีโคตรบูรณ์มีความเห็นว่าเมืองมิได้ตั้งอยู่ที่ปากห้วยแล้ว   จึงได้เปลี่ยนนามเมืองใหม่ว่า    เมืองมรุกขนคร”   เพราะถือว่าสร้างขึ้นในดงไม้รวก  นามเมืองศรีโคตรบูรณ์จึงเปลี่ยนไปตั้งแต่ครั้งนั้น  ปี พ .ศ. 2330 ย้ายเมืองมาตั้งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ปากห้วยบังฮวก   บรรจบกับแม่น้ำโขง(ปัจจุบันอยู่ระหว่างบ้านดอนนางหงส์ท่า  ตำบลดอนนางหงส์  อำเภอธาตุพนม   เลยลงไปถึงบ้านธาตุน้อยศรีบุญเรือง   ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม )    เมืองมรุกขนคร   เมื่อได้ย้ายมาตั้งที่      ปากห้วยบังฮวกโดยประมาณ  20  ปี น้ำได้กัดเซาะตลิ่งพังลงมามาก     จึงได้ย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์ (ห่างจากตัวเมืองนครพนมไปทางทิศใต้ 4  กิโลเมตร)  ตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า นครบุรีราชธานีปี  พ.ศ. 2337 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเมือง  เสียใหม่ว่า   เมืองนครพนม”    ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร  การที่พระราชทานนามว่า เมืองนครพนมสันนิษฐานได้ว่า อาจจะเนื่องด้วยเดิมเมืองนี้เป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงให้ใช้คำว่า  นคร”   หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า  นคร”  นี้ อาจรักษาชื่อเมืองเดิมคือเมืองนครบุรีราชธานีไว้ ส่วนคำว่า  พนม”  อาจจะเนื่องด้วยจังหวัดนี้มีองค์พระธาตุพนมประดิษฐานอยู่  หรืออาจจะเนื่องจาก เดิมมีอาณาเขตไกลไปถึงดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง คือบริเวณเมืองท่าแขก ซึ่งมีภูเขาสลับซับซ้อนมากมายไปจนถึงดินแดนของประเทศเวียดนาม จึงใช้คำว่า พนมเพราะแปลว่า ภูเขา

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
          พระธาตุพนม  ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารในเขตอำเภอธาตุพนม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ  50  กิโลเมตร ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีลงความเห็นว่าเป็นสมัยเดียวกันกับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมา  โดยในปี พ.ศ .2458 วัดพระธาตุพนมได้รับการยกฐานะเป็นอารามหลวงชั้นเอก   ขึ้นเป็น วรมหาวิหาร ”  ต่อมาในวันที่  11 สิงหาคม  2518 พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนม รัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522  และได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ตลอดจนของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้นภายในองค์พระธาตุ  บนยอดองค์  พระธาตุมีฉัตรทองคำ น้ำหนักถึง 110  กิโลกรัม   ปัจจุบันองค์พระธาตุพนมมีฐานกว้างด้านละ  12.33  เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างามยิ่งนัก พระธาตุท่าอุเทน   ประดิษฐานอยู่บ้านท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน รูปทรงคล้ายพระธาตุพนม มีความสูงจากพื้นดินถึงยอด  33  วา   ฐานกว้างด้านละ  6  วา   3  ศอก   พระอาจารย์ศรีทัตถ์ เป็นผู้สร้าง เมื่อ ปี พ .ศ.2455 พระธาตุท่าอุเทนนี้เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง   ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์  ซึ่งพระอาจารย์ศรีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้งประเทศพม่า การเดินทางไปนมัสการพระธาตุท่าอุเทนจากตัวเมืองนครพนมใช้เส้นทางหมายเลข 212  ไปยังอำเภอท่าอุเทน ระยะทางประมาณ  26  กิโลเมตรพระธาตุเรณูนคร  ประดิษฐานอยู่ ที่วัดพระธาตุเรณูนคร ตำบลเรณูนคร อำเภอเรณูนคร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2461   โดยอาจารย์เม้า วงษา และ อุปปัชฌาอินทร์ โดยจำลองมาจากองค์พระธาตุพนม มีความสูง   35  เมตร  กว้าง 8.37 เมตร มีซุ้มประตู  4 ด้าน ภายในเป็นโพรงบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำภายในวัดพระธาตุเรณูนคร นอกจากมีองค์พระธาตุเรณูนครแล้วยังมีพระรูปพระองค์แสน  (น้ำหนัก 1,200 กิโลกรัม หน้าตักกว้าง50 เซนติเมตร สูง  50 เซนติเมตร) มีพระพุทธลักษณะสวยงาม การเดินทางไปนมัสการพระธาตุเรณูนคร จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข  212  ถึงกิโลเมตร ที่  44  มีทางแยกไปยังอำเภอเรณูนคร  7 กิโลเมตร   สภาพถนนลาดยางใช้ได้ทุกฤดูกาล รวมระยะทางทั้งสิ้น 51 กิโลเมตรพระธาตุประสิทธิ์  ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า ห่างจาก  ตัวอำเภอเมือง  ประมาณ   98  กิโลเมตร ป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ประชาชนในท้องถิ่นใกล้เคียงเคารพนับถือมาก  การเดินทางจากตัวเมืองนครพนม ไปตามทางหลวงหมายเลข  212   ผ่านอำเภอท่าอุเทน ถึงบ้านท่าดอกแก้วจะมีทางหลวง หมายเลข   2032 แยกซ้ายมือเข้าตัวอำเภอศรีสงคราม จากอำเภอศรีสงคราม ไปอำเภอนาหว้า ระยะทาง 26  กิโลเมตร  ถนนลาดยางตามทางหลวงหมายเลข  2132  ถึงบริเวณวัดพระธาตุมหาชัย   ประดิษฐาน  ณ  วัดโฆษิตดาราม  ตำบลมหาชัย  อำเภอปลาปาก  ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ  40  กิโลเมตร  ไปตามเส้นทางนครพนม - สกลนคร  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข   22  พระธาตุมหาชัย เป็น ปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระธาตุมหาชัย เมื่อวันที่  25 พฤษภาคม 2518  ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา  และที่วัดโฆษิตดาราม นี้   ยังเป็นที่จำพรรษาของท่านพระครูสุนทรธรรมโฆษิต  (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ )  พระเกจิอาจารย์สายวิปัสสนา  ที่สำคัญองค์หนึ่ง และเป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดนครพนม   และชาวอีสานทั่วไปด้วยพระธาตุศรีคูณ  เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอนาแก ห่างจากอำเภอธาตุพนม ตามทางหลวงหมายเลข  212 ประมาณ 27 กิโลเมตร พระธาตุศรีคูณมีลักษณะส่วนบนคล้ายพระธาตุพนม  ต่างกันตรงที่  ชั้นที่1  มีสองตอน เป็นรูป 4 เหลี่ยม  ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ 2   สั้นกว่าพระธาตุพนมวัดโอกาสศรีบัวบาน  เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ มีศาลเจ้าหมื่น รวมทั้งพระติ้ว พระเทียม ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเมืองนครพนม   เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง     ติดกับด่านศุลกากรนครพนม ในเขตเทศบาลเมืองนครพนมรอยพระบาทบ้านเวินพระบาท  ตั้งอยู่ในลำน้ำโขง ณ บ้านเวินพระบาท ตำบลเวินพระบาท อำเภอท่าอุเทน โดยมีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดพระบาทเวินปลาห่างจากฝั่งออกไป   150  เมตร    สถานที่แห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่า วังน้ำาวน หรือเวินลักษณะเป็นรอยฝ่าพระบาทเบื้องซ้าย กว้าง 70  เซนติเมตร  ยาว  1.80  เมตร ตรงกลางมีรูปกงจักร เส้นผ่าศูนย์กลางของรูปประมาณ  10  เซนติเมตร ในฤดูฝนน้ำจะท่วมคือตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ไปจนกว่าน้ำจะลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ จึงไปนมัสการได้ งานเทศกาลนมัสการ จะตรงกับวันสงกรานต์ของทุกปี การเดินทางจากนครพนม  ไปตามถนนสายนครพนม -บ้านแพง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ10  กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้าน อีก 500  เมตรพระบางวัดไตรภูมิ  ประดิษฐานอยู่ ณ วัดไตรภูมิ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร มีขนาดสูง  80  นิ้ว  แท่นสูง  2.5 นิ้ว   ฐานเป็นรูป  8 เหลี่ยม  สูง  15 นิ้ว  ห่างจากจังหวัดนครพนม  

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเพณีไหลเรือไฟนครพนม ปี 2554


ประเพณีไหลเรือไฟนครพนม

ขอเชิญเที่ยวชมงาน ประเพณีไหลเรือไฟนครพนม ปี 2554
            ณ บริเวณริมแม่น้ำโขงและหน้าตลาดอินโดจีน อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมระหว่างวันที่ 5-13 ตุลาคม 2554

 พอดีพนักงานในแผนกบ้านอยู่จังหวัดนครพนม ทราบว่าผมกำลังเขียนเว็บไซต์ เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว  ผมได้พูดถึงประเพณีรับบัวให้ฟังว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ ของอำเภอบางพลีที่จัดขึ้นทุกๆปีก่อนออกพรรษา  และได้ชวนผมไปเที่ยวประเพณีไหลเรือไฟที่จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 5-13 ตุลาคม 2554  ผมเองก็อยากไป แต่ติดตรงที่ปีนี้ผมรอเที่ยวงานประเพณีรับบัว และที่สำคัญต้องการได้ภาพประกอบการเขียนเว็บไซต์จึงไปไม่ได้ แต่ได้ฝากให้ถ่ายถาพมาฝากผมด้วยถ้ากลับไปบ้าน และได้มอบภาพถ่าย เรือไฟ ที่ถ่ายเมื่อปี 2553 ไว้ให้แก่ผม จึงมีภาพที่สวยงามมาฝาก


ประเพณีไหลเรือไฟ
  เป็นประเพณีสำคัญที่ชาวอีสานสืบทอดปฏิบัติใน เทศกาลออกพรรษาทำกันในวันขึ้น 15 คํ่า หรือ แรม 1 คํ่า เดือน 11 ตามแม่นํ้าลำคลอง "เรือไฟ"หรือภาษาถิ่นเรียกว่า "เรือไฟ" นี้เป็นเรือที่ทำด้วยต้นกล้วย ท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุขนมข้าวต้มผัดหรือสี่ง ที่ต้องการบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างก่อน จะปล่อยเรือไฟซึ่งเรียกว่า "การไหลเรือไฟ" หรือ "ปล่อยเฮือไฟ" พิธีและกิจกรรม ก่อนถึงวันงานไหลเรือไฟชาวคุ้ม วัดจะช่วยกันประดิษฐ์ตกแต่งเรือไฟด้วย ต้นกล้วยไม้ไผ่หรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีรูปร่างลักษณะ เหมือนเรือมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร จะประดิษฐ์เป็นรูปหงส์ นาค ครุฑ หรือรูปอย่างใดก็ได้ที่คิดว่า สวยงาม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อ ความสวยงามและเพื่อให้การจุดประทีปโคมไฟอยู่ได้ ทนทาน เมื่อถึงวันงานก็จะมีขบวนสนุกสนานสวย งามด้วย ตอนกลางคืนจะมีการไหลเรือไฟจะสุดอยู่ที่แม่น้ำโขงทางทิศใต้มีการทำพิธีกรรมทางศาสนา การ กล่าวคำบูชารอยพระพุทธบาท
มูลเหตุของการไหลเรือไฟ
  ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่นํ้านิมมทานที ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารพะรัตนตรัย และพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาคุณแม่โพสพความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาวิญญาณ ของบรรพบุรุษ ประเพณีไหลเรือไฟ หรือ "ไหลเฮือไฟ" ในภาษาอีสานเป็นประเพณีลอยกระทงตามแบบอีสาน จะจัดในเทศกาลออกพรรษา ของชาวจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะ จังหวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงจะจัดขึ้นใน วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก

 หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระธรรมโปรด พระพุทธมารดาและเป็นความเชื่อว่าถ้าจัดพิธีนี้ขึ้นก็จะเป็นการแสดงความคารวะต่อพระยานาค ที่สถิตอยู่ตามแม่น้ำใหญ่ ให้คุ้มครองรักษาผู้สัญจรไปมาทางน้ำไม่ให้มีภัยอันตรายเกิดขึ้น โดยพิธีนี้จะจัดขึ้นในแม่น้ำใหญ่ๆ เช่น แม่น้ำมูลแม่น้ำชีในจังหวัดเลยและในแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงคาน และนอกจากนี้จังหวัดนครพนม ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายเช่น วัดพระธาติพนมวรมหาวิหาร





วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
       เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม
ประวัติ
     ตามตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า ท้าวพญาทั้งห้าผู้เป็นใหญ่ ได้แก่พญาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหานหลวง พญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย พญาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลนีพรหมทัต พญาอินทรปัตถ์ เจ้าเมืองอินทปัตถนคร และพญานันทเสน เจ้านครศรีโคตรบูรณ์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุ ได้สร้างอูบมูงขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ตามพุทธพยากรณ์ โดยก่อสร้างด้วยดินดิบ (อิฐดิบ) ฐานพระธาตุพนมได้ขุดลงไปจนเป็นอูบมุง (อุโมง) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกส่วนหน้าอก เมื่อก่อด้วยดินดิบเสร็จแล้ว จึงได้ก่อไฟเผาพระธาตุเป็นเวลากว่าหลายวัน อิฐจึงได้แห้งสนิทจรดกัน ในพระธาตุพนม บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งประมาณ พ.ศ. 8 พระอุตรเถระและพระโสณเถระ สมรทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้อัญเชิญมา และพระมหากัสสปะเถระได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้า ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระธาตุพนมได้รับการบูรณะและอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห่งล้านช้าง
         เมื่อปี พ.ศ. 2485 วัดพระธาตุพนมฯ ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร" ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.38 น. ด้วยเหตุที่มีฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวันและความเก่าแก่ขององค์พระธาตุ พระธาตุพนมจึงได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522 นอกจากจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุดั่งเดิมแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้นบรรจุและประดับไว้ในองค์พระธาตุอีกด้วย โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ ซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 110 กิโลกรัม
น้ำบ่อวัดพระธาตุพนม
        ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุ บริเวณกำแพงชั้นนอก ห่างจากพระธาตุพนมประมาณ 30 วา (60 เมตร) บ่อ กว้าง 1.50 เมตร ลึก 10 เมตร กรุข้างบ่อด้วยไม้แดง บ่อน้ำเก่าแก่ น้ำใส รสจืดสนิท และมีน้ำอยู่ตลอดปี ราษฎรส่วนมากใช้น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำดื่ม และใช้เป็นน้ำอภิเษกของจังหวัดนครพนมมีอยู่เพียงแห่งเดียว สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก คือ บ่อน้ำพระอินทร์บริเวณพระธาตุพนม

พระธาตุพนม
       พระธาตุพนม ประดิษฐาน ณ วัดธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนมห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร เป็นสถานที่เคารพนับถือทั้งของชาวไทยและชาวลาว ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีลงความเห็นว่าพระธาตุพนมสร้างขึ้น ระหว่าง พ.ศ. 1200 – 1400 ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างคือ พระมหากัสสปะพระอรหันต์ 500 องค์ และท้าวพระยาเมืองต่าง ๆ ภายในองค์พระธาตุบรรจุพรอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ลักษณะของสถาปัตยกรรม มีแหล่งที่มาที่เดียวกันกับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมา ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น “วรมหาวิหาร”




การเดินทาง
รถยนต์ส่วนบุคคล
         จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านจังหวัดมหาสารคาม ทางหลวงหมายเลข 213 แล้วแยกขวาเข้าสู่จังหวัดกาฬสินธุ์และผ่านจังหวัดสกลนคร ตรงเข้าสู่จังหวัดนครพนม ตามทางหลวงหมายเลข 22 รวมระยะทางประมาณ 740 กิโลเมตร
เครื่องบินในประเทศ
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดบริการเที่ยวบินไปจังหวัดนครพนม สอบถามตารางการบิน
โทร. 1566, 02-628 200002-628 2000 ,
0 4251 2494