วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเพณีไหลเรือไฟนครพนม ปี 2554


ประเพณีไหลเรือไฟนครพนม

ขอเชิญเที่ยวชมงาน ประเพณีไหลเรือไฟนครพนม ปี 2554
            ณ บริเวณริมแม่น้ำโขงและหน้าตลาดอินโดจีน อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมระหว่างวันที่ 5-13 ตุลาคม 2554

 พอดีพนักงานในแผนกบ้านอยู่จังหวัดนครพนม ทราบว่าผมกำลังเขียนเว็บไซต์ เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว  ผมได้พูดถึงประเพณีรับบัวให้ฟังว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ ของอำเภอบางพลีที่จัดขึ้นทุกๆปีก่อนออกพรรษา  และได้ชวนผมไปเที่ยวประเพณีไหลเรือไฟที่จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 5-13 ตุลาคม 2554  ผมเองก็อยากไป แต่ติดตรงที่ปีนี้ผมรอเที่ยวงานประเพณีรับบัว และที่สำคัญต้องการได้ภาพประกอบการเขียนเว็บไซต์จึงไปไม่ได้ แต่ได้ฝากให้ถ่ายถาพมาฝากผมด้วยถ้ากลับไปบ้าน และได้มอบภาพถ่าย เรือไฟ ที่ถ่ายเมื่อปี 2553 ไว้ให้แก่ผม จึงมีภาพที่สวยงามมาฝาก


ประเพณีไหลเรือไฟ
  เป็นประเพณีสำคัญที่ชาวอีสานสืบทอดปฏิบัติใน เทศกาลออกพรรษาทำกันในวันขึ้น 15 คํ่า หรือ แรม 1 คํ่า เดือน 11 ตามแม่นํ้าลำคลอง "เรือไฟ"หรือภาษาถิ่นเรียกว่า "เรือไฟ" นี้เป็นเรือที่ทำด้วยต้นกล้วย ท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุขนมข้าวต้มผัดหรือสี่ง ที่ต้องการบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างก่อน จะปล่อยเรือไฟซึ่งเรียกว่า "การไหลเรือไฟ" หรือ "ปล่อยเฮือไฟ" พิธีและกิจกรรม ก่อนถึงวันงานไหลเรือไฟชาวคุ้ม วัดจะช่วยกันประดิษฐ์ตกแต่งเรือไฟด้วย ต้นกล้วยไม้ไผ่หรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีรูปร่างลักษณะ เหมือนเรือมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร จะประดิษฐ์เป็นรูปหงส์ นาค ครุฑ หรือรูปอย่างใดก็ได้ที่คิดว่า สวยงาม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อ ความสวยงามและเพื่อให้การจุดประทีปโคมไฟอยู่ได้ ทนทาน เมื่อถึงวันงานก็จะมีขบวนสนุกสนานสวย งามด้วย ตอนกลางคืนจะมีการไหลเรือไฟจะสุดอยู่ที่แม่น้ำโขงทางทิศใต้มีการทำพิธีกรรมทางศาสนา การ กล่าวคำบูชารอยพระพุทธบาท
มูลเหตุของการไหลเรือไฟ
  ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่นํ้านิมมทานที ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารพะรัตนตรัย และพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาคุณแม่โพสพความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาวิญญาณ ของบรรพบุรุษ ประเพณีไหลเรือไฟ หรือ "ไหลเฮือไฟ" ในภาษาอีสานเป็นประเพณีลอยกระทงตามแบบอีสาน จะจัดในเทศกาลออกพรรษา ของชาวจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะ จังหวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงจะจัดขึ้นใน วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก

 หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระธรรมโปรด พระพุทธมารดาและเป็นความเชื่อว่าถ้าจัดพิธีนี้ขึ้นก็จะเป็นการแสดงความคารวะต่อพระยานาค ที่สถิตอยู่ตามแม่น้ำใหญ่ ให้คุ้มครองรักษาผู้สัญจรไปมาทางน้ำไม่ให้มีภัยอันตรายเกิดขึ้น โดยพิธีนี้จะจัดขึ้นในแม่น้ำใหญ่ๆ เช่น แม่น้ำมูลแม่น้ำชีในจังหวัดเลยและในแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงคาน และนอกจากนี้จังหวัดนครพนม ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายเช่น วัดพระธาติพนมวรมหาวิหาร





วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
       เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม
ประวัติ
     ตามตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า ท้าวพญาทั้งห้าผู้เป็นใหญ่ ได้แก่พญาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหานหลวง พญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย พญาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลนีพรหมทัต พญาอินทรปัตถ์ เจ้าเมืองอินทปัตถนคร และพญานันทเสน เจ้านครศรีโคตรบูรณ์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุ ได้สร้างอูบมูงขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ตามพุทธพยากรณ์ โดยก่อสร้างด้วยดินดิบ (อิฐดิบ) ฐานพระธาตุพนมได้ขุดลงไปจนเป็นอูบมุง (อุโมง) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกส่วนหน้าอก เมื่อก่อด้วยดินดิบเสร็จแล้ว จึงได้ก่อไฟเผาพระธาตุเป็นเวลากว่าหลายวัน อิฐจึงได้แห้งสนิทจรดกัน ในพระธาตุพนม บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งประมาณ พ.ศ. 8 พระอุตรเถระและพระโสณเถระ สมรทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้อัญเชิญมา และพระมหากัสสปะเถระได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้า ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระธาตุพนมได้รับการบูรณะและอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห่งล้านช้าง
         เมื่อปี พ.ศ. 2485 วัดพระธาตุพนมฯ ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร" ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.38 น. ด้วยเหตุที่มีฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวันและความเก่าแก่ขององค์พระธาตุ พระธาตุพนมจึงได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522 นอกจากจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุดั่งเดิมแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้นบรรจุและประดับไว้ในองค์พระธาตุอีกด้วย โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ ซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 110 กิโลกรัม
น้ำบ่อวัดพระธาตุพนม
        ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุ บริเวณกำแพงชั้นนอก ห่างจากพระธาตุพนมประมาณ 30 วา (60 เมตร) บ่อ กว้าง 1.50 เมตร ลึก 10 เมตร กรุข้างบ่อด้วยไม้แดง บ่อน้ำเก่าแก่ น้ำใส รสจืดสนิท และมีน้ำอยู่ตลอดปี ราษฎรส่วนมากใช้น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำดื่ม และใช้เป็นน้ำอภิเษกของจังหวัดนครพนมมีอยู่เพียงแห่งเดียว สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก คือ บ่อน้ำพระอินทร์บริเวณพระธาตุพนม

พระธาตุพนม
       พระธาตุพนม ประดิษฐาน ณ วัดธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนมห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร เป็นสถานที่เคารพนับถือทั้งของชาวไทยและชาวลาว ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีลงความเห็นว่าพระธาตุพนมสร้างขึ้น ระหว่าง พ.ศ. 1200 – 1400 ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างคือ พระมหากัสสปะพระอรหันต์ 500 องค์ และท้าวพระยาเมืองต่าง ๆ ภายในองค์พระธาตุบรรจุพรอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ลักษณะของสถาปัตยกรรม มีแหล่งที่มาที่เดียวกันกับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมา ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น “วรมหาวิหาร”




การเดินทาง
รถยนต์ส่วนบุคคล
         จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านจังหวัดมหาสารคาม ทางหลวงหมายเลข 213 แล้วแยกขวาเข้าสู่จังหวัดกาฬสินธุ์และผ่านจังหวัดสกลนคร ตรงเข้าสู่จังหวัดนครพนม ตามทางหลวงหมายเลข 22 รวมระยะทางประมาณ 740 กิโลเมตร
เครื่องบินในประเทศ
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดบริการเที่ยวบินไปจังหวัดนครพนม สอบถามตารางการบิน
โทร. 1566, 02-628 200002-628 2000 ,
0 4251 2494